5 เทคนิค ดื่มน้ำอย่างไรถึงดีต่อสุขภาพ

คุณรู้อยู่แล้วว่าการดื่มน้ำคือสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา ร่างกายของเราต้องการปริมาณน้ำที่เหมาะสมทุกวัน เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและนำไปใช้ในส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ละคนนั้นต้องการน้ำไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักตัว ที่สำคัญนั้นเราสามารถขาดอาหารได้หลายวันแต่หากขาดน้ำไม่กี่วันก็อาจส่งผลร้ายต่อชีวิตได้ หรือถ้าดื่มน้ำมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียเช่นเดียวกัน ฉะนั้นการดื่มน้ำแต่พอดีจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ข้อมูลจาก Thaihealth พูดถึงกลไกการทำงานของน้ำในร่างกายว่า เริ่มจากการดื่มน้ำเข้าไป ผ่านหลอดอาหารแล้วไปสู่กระเพาะ หลังจากนั้นจะถูกดูดซึมไปยังกระแสเลือดส่วนนึง อีกส่วนนึงจะถูกลำไส้เล็กดูดซึม จากนั้นก็ไปที่ลำไส้ใหญ่เพื่อดูดซึมอีกครั้ง น้ำที่ถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด จะทำให้เลือดจางลงซึ่งร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นไตให้ขับน้ำในกระแสเลือดที่มากกว่าปกติออกจากร่างกายไปในรูปของปัสสาวะนั้นเอง

ทีนี้เราก็ทราบกันแล้วว่าร่างกายของเรานั้นดูดซึมน้ำอย่างไร ต่อไปเรามาดูข้อแนะนำและข้อหลีกเลี่ยงในขณะดื่มน้ำกันดีกว่า Dr. Hansa Yogendra กูรูโยคะ ผู้อำนวยการสถาบันโยคะ The Yoga Institute ทีประเทศอินเดียได้อธิบายข้อเเนะนำและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่เราดื่มน้ำ ซึ่งเราได้นำมาเรียบเรียงและเพิ่มเติมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากให้ทุกท่านได้นำไปใช้กัน ดังนี้

 <a href="http://www.freepik.com">Designed by macrovector / Freepik</a>

1. การดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร

ดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร 30 นาที เป็นการช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น และ 90 นาทีหลังจากกทานอาหารเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ อย่าดื่มหลังจากดื่มนมหรือน้ำผลไม้ เพราะอาจทำให้ท้องอืด ท้องเสียได้นั้นเอง

2. ดื่มน้ำ เมื่อเริ่มกระหายน้ำ

งงใช่ไหมค่ะทุกคน แต่เรามีคำอธิบาย ร่างกายของเรานั้นมีอวัยวะหนึ่งที่มีความสามารถและหน้าที่ควบคุมน้ำนั้นคือ “ไต” ไตนั้นมีความสามารถอย่างมหัศจรรย์ในการควบคุมน้ำ เมื่อน้ำอยู่ในปริมาณที่น้อยลงไตจะส่งข้อความไปยังสมองของเราเพื่อให้เราดื่มน้ำมากขึ้นนั้นเอง ซึ่งหากลองสักเกตดีๆเราจะค้นพบว่า บางช่วงเวลาจู่ๆเราก็ต้องการดื่มน้ำขึ้นมานั้นละคือสัญญาณจากร่างกายของเรา

หากต้องการทราบว่าเราอยู่ในภาวะขาดน้ำไหม ให้เราสังเกตจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะสีเข้ม หรือาจเกิดจากการสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะ ทางเดินอาหาร และเหงื่อ เช่น ท้องร่วง อาเจียนปริมาณมาก

3.หลีกเลี่ยงน้ำเย็น

น้ำดื่มที่ดีที่สุด คือน้ำดื่มอุณหภูมิห้อง ซึ่งช่วยเสริมระบบการย่อยอาหารของร่างกายได้ดี แต่น้ำเย็นนั้นจะต้องใช้เวลาการเผาผลาญมากขึ้น เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายปรับความสมดุลและปรับอุณหภูมิของร่างกาย หากอุณหภูมิของน้ำเย็นมากเกินไป และดื่มในช่วงที่ไม่มีการกระหายน้ำ จะส่งผลให้ขีดความสามารถของสมองลดลง และทำให้อยากเข้าห้องน้ำบ่อยๆ หรืออาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น หากร่างกายในเวลานั้นมีภูมิคุ้มกันต่ำเช่นช่วงที่มีประจำเดือน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อดีเช่นกันนะ อย่างเช่นให้ความสดชื่นนั้นเอง แต่สำหรับตัวแอดมินดื่มมากๆแล้วรู้สึกเย็นคอมาก จนบางครั้งรู้สึกเจ็บคอ

4. ดื่มขณะนั่งดีกว่าขณะยืน

เรื่องนี้น่าสนใจมากเพราะในขณะที่เรายืน น้ำจะไหลผ่านตรงไปกระเพาะอย่างรวดเร็ว ทำให้การดูดซึมนั้นเป็นไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร จนอาจทำให้ระบบกระเพาะอาหารมีผลกระทบได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้นั่งดื่มจะดีกว่า เพื่อจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญไม่เพียงแต่ยืนอย่างเดียวบางคนเดินดื่มซึ่งต้องระมัดระวังอาจทำให้สำลักหรือเกิดอุบัติเหตุได้

5. ดื่มทีละนิด

คิดว่าหลายๆท่านคงทราบดีว่าหากกลืนน้ำปริมาณมากๆ เร็วๆนั้น อาจจะทำให้ปวดท้องปัสสาวะเข้าห้องน้ำถี่ขึ้น แถมดื่มแบบนี้ไม่เกิดประโยชน์อีกด้วย เนื่องจากไม่สามารถดูดซึมได้ อีกทั้งยังเสี่ยงทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ และเสี่ยงไตทำงานหนักมากเกินไป ฉะนั้นให้ใช้วิธีค่อยๆจิบจะดีกว่า

หากเราต้องการทราบว่าเราควรที่จะดื่มน้ำปริมาณเท่าในแต่ละวัน เราสามารถคำนวณได้ง่ายๆด้วยตนเองดังนี้

       [น้ำหนัก (กิโลกรัม) x  2.2 x 30] ÷ 2 =ปริมาณน้ำเป็นมิลลิลิตรที่ควรดื่มใน 1 วัน

และปกติเราควรที่จะเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะทุก 3-4 ชม. ครั้ง คอยสังเกตว่าสีและกลิ่นของปัสสาวะนั้นเป็นสีอะไร หากมีสีเหลืองเข้มนั้นก็แปลว่าเราดื่มน้อยเกินไปให้จิบน้ำทีละนิด หากมีกลิ่นฉุนอาจเกิดการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์

เคล็ดลับบอกต่อ การดื่มน้ำในช่วงตื่นนอน ก่อนที่จะแปรงฟันหรือทานอาหาร เป็นวิธีการรักษาสุขภาพที่ดี

ค้นหาบทความที่น่าสนใจได้ที่ Siam Yoga บทความที่มีสาระ พร้อมทั้งประโยชน์เกี่ยวกับโยคะ, อาสนะ, และ เคล็ดลับ&สุขภาพที่นำมาฝากทุกคน ขอบคุณค่ะ