ประวัติของโยคะ

มนุษย์ได้เรียนรู้และได้รับสิ่งต่างๆจากโลกรอบตัวเราโดยไม่รู้จบซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติของตัวเรา ย้อนกับไปหลายพันปีก่อน เมื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์อย่างถี่ถ้วนจึงเห็นว่าอวัยวะสําหรับรับความรู้สึกต่างๆ คือตา หู ปาก จมูกและผิวหนังถูกเปิดออกโดยธรรมชาติจากสิ่งต่างๆรอบตัวเราโดยผ่านความรับรู้ของเรา เราจึงค้นพบความลับของธรรมชาติ และโดยธรรมชาติเรามักแสวงหา ค้นคว้าหาคำตอบอยู่เสมอ ส่งผลให้จิตใจและสติปัญญาของเราสัมผัสกับโลกภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความสุขและความทุกข์ในสมัยอินเดียโบราณได้ค้นพบบางสิ่งที่จะช่วยรักษาจิตใจให้เป็นอิสระและพบกับความสงบ เทคนิคนี้ถูกเรียกว่า “โยคะ”

โยคะคืออะไร

ความหมายของโยคะมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตคือ Yuj ‘ ยุจ’ หมายถึง ‘เข้าร่วม’ หรือ ‘เทียมแอก’ หรือ ‘รวมเป็นหนึ่ง’ โดยรวมแล้วคือ  “ความเชื่อมโยง ความผูกพัน การรวมกันเป็นหนึ่ง”  เป็นการทำจิตใจให้สงบ การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดยการทำจิตให้เป็นสมาธิ หลุดพ้น ซึ่งประโยชน์ที่แท้จริงของการทำโยคะนั้นจะได้ทั้งร่างกาย และจิตใจ ตระหนักรู้ในตนเอง ให้พ้นทุกข์ทั้งปวงที่นำไปสู่ ​​’ภาวะแห่งการหลุดพ้น’ (โมกษะ) หรือ ‘อิสรภาพ’ (ไกวัลยา) การใช้ชีวิตอย่างอิสระในทุกย่างก้าว สุขภาพและความสามัคคีจะเป็นวัตถุประสงค์หลักของการฝึกโยคะ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์-ยุคประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของโยคะนั้นยาวนานก่อนที่ศาสนาหรือระบบความเชื่อชุดแรกจะถือกำเนิดขึ้น เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของศาสนาและความศรัทธาเป็นเรื่องของความพยายามที่ซื่อสัตย์ของมนุษย์เพื่อพิชิตโรคชราและความตายเรามาหาคำตอบด้วยการเดินทางของสู่อินเดีย 6,000 ปีประวัติศาสตร์

ในตำนานของโยคี พระศิวะถูกมองว่าเป็นโยคีหรืออดิโยกิคนแรก และปราชญ์คนแรกหรืออาดีคุรุ โดยลงมาจุติในนามว่า กาปิลา มุนี (KAPILA MAHARSHI) เขามีชื่อเสียงและเป็นผู้ที่เก่งที่สุดในโยคะ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงเรียนปรัชญาสัมคยา อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มปรัชญาสัมคยา(Samkhya) ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับระบบโยคะของปตัญชลีในยุคคลาสสิก ซึ่งปรัชญานี้มีสิ่งสำคัญสองประการที่บ่งบอกถึงประสบการณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจริงคือจิตสำนึกและความเข้าใจจิตใจและอารมณ์ เพื่อการตระหนักรู้ในตนเอง ในมหากาพย์มหาภารตะอธิบายว่าสัมคยาและโยคะเป็นปรัชญาที่คงอยู่ตลอดกาล และมีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นภาพวาดแกะสลักโยคีทำสมาธิ ช่วงเวลาและสถานที่คาดว่าอยู่ในอารยะธรรมสินธุ 3,900-1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีหลักฐานหลายแห่งในเมืองฮารัปปาในอินเดียโบราณ และมีบันทึกในฤคเวท คัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด เขียนถึงการฝึกโยคะในรูปแบบพิธีกรรม เพลง ศิลปะต่างๆ

รูป แมวน้ำและซากฟอสซิลจำนวนหนึ่งของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสรัสวดีที่มีแรงจูงใจแบบโยติและหุ่นแสดงโยคะบ่งบอกถึงการปรากฏตัวของโยคะในอินเดีย
ภาพโดย Dr. Ishwar V. Basavaraddi
รูป แมวน้ำและซากฟอสซิลจำนวนหนึ่งของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสรัสวดีที่มีแรงจูงใจแบบโยติและหุ่นแสดงโยคะบ่งบอกถึงการปรากฏตัวของโยคะในอินเดีย
ภาพโดย Dr. Ishwar V. Basavaraddi

ยุคคลาสสิก-ยุคหลังคลาสสิก

นักปราชญ์ชาวฮินดูมหารชี ปตัญชลี(Maharshi Patanjali) ประวัติชีวิตของปตัญชลีแทบไม่มีใครทราบ เต็มไปด้วยตำนานและความขัดแย้ง ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการกำเนิดของมหารชี ปตัญชลีแต่เชื่อว่าเขาเป็นฤาษีที่ทรงพลังและมาจากชนเผ่าน็อก สมัยพระมหากษัตริย์พุปุษยามิตรา ชุงกะ ระหว่าง 184-148 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้รวบรวบปรับปรุงการฝึกโยคะวางแนวทางขั้นพื้นฐานเป็นคนแรก ซึ่งในเทคนิคนี้เป็นการรวบรวมคำตอบของจิตใจที่ถามขึ้น ซึ่งเป็นคำสอนพังเพยเพื่อเป็นตัวอย่าง มีจำนวนทั้งสิ้น 195 ประโยค ตำราพื้นฐานของคลาสสิกปรัชญาโยคะ เรียกว่า โยคะสูตร (Yoga Sutras)

บางหน้าจากต้นฉบับโยคะสูตรประวัติศาสตร์ (สันสกฤต, เทวนาครี) โองการจะถูกเน้นและฝังอยู่ภายใน Bhasya (คำอธิบาย) By Ms Sarah Welch

โยคะสูตร (Yoga Sutras)

แบ่งเป็น 4 บทคือ

บทที่ 1 ว่าด้วยสมาธิ (Samadhi Pada) การฝึกสมาธิเป็นสถานะของการรับรู้โดยตรงและเชื่อถือได้ จิตสํานึกที่บริสุทธิ์ที่ยืนอยู่เหนือสิ่งอื่นใด “ตระหนักรู้ในตนเอง” เป็นเทคนิคหลักที่โยคีเรียนรู้ในการทําให้การทํางานของจิตใจสงบลงจนกระทั้งบรรลุผล

บทที่ 2 ว่าด้วยวิถีโยคะ(Sadhana Pada) อันประกอบด้วยมรรค 8 ประการ

  1. ยมะ (Yama) การควบคุมทางสังคมหรือค่านิยมทางจริยธรรม 5 อย่าง คือ
    • อหิงสา (Ahimsa ) ไม่เบียดเบียน ทำลายชีวิต การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
    • สัตยะ (Satya) การไม่พูดโกหกง
    • อัสเตยะ (Asteya) ไม่ลักทรัพย์
    • พรหมจรรยะ (Brahmacharya) ไม่ประพฤติผิดในกาม
    • อปริคระหะ (Aparigraha) การไม่ถือครองวัตถุเกินความจำเป็น
  2. นิยมะ (Niyama) การปฎิบัติตาม วินัย ข้อควรปฏิบัติ 5 ประการ 
    • เศาจะ (Shaucha): ความสะอาด
    • สันโตษะ (Santosh) อิ่มใจ พอใจกับสิ่งที่มี
    • ตปะ (Tapa) ความอดทน
    • สวาธยายะ (Swadhyaya) ความหมั่นเพียรศึกษา
    • อิศวรประณิธานะ (Ishwara pranidhan) ความเคารพต่อพระเจ้าเพื่อเป็นหนทางสู่การดับจิต
  3. อาสนะ (Asana)  การบริหารร่างกาย และดูแลร่างกายให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
  4. ปราณายามะ (Pranayama) กำหนด ควบคุมลมหายใจ
  5. รัตยาหาระ (Pratyahara) คือ สำรวมอินทรีย์ทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
  6. ธาราณา (Dharana) มีสติ หัวข้อของรักษาจิตใจ
  7. ธยานะ (Dhyana) “การไตร่ตรอง ไตร่ตรอง” ปฏิบัติธรรม  และ “การทำสมาธิที่ลึกซึ้งและเป็นนามธรรม”
  8. สมาธิ (Samadhi) การทำสมาธิรวมเป็นหนึ่งจนเข้าสู่สภาวะที่บริสุทธิ์และมั่นคง

บทที่ 3 ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์ที่ได้รับจากการฝึกจิตจนมีพลัง

บทที่ 4 ว่าด้วยไกวัลย หรือ ความหลุดพ้นตามแนวคิดของปตัญชลี

แต่ปตัญชลีไม่ได้เป็นผู้คิดค้นคนแรก เขาได้เรียนรู้ปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุดตามประเพณีของอินเดียโบราณนั้นคือสัมคยาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าระบบโยคะนั้นได้รับอิทธิพลจากระบบปรัชญาอื่นๆเช่นกัน เริ่มจากผ่านลัทธิฮินดู สู่พุทธศาสนาในยุคแรกและยุคศาสนาเซน

ในยุคต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าประสูติที่สวนป่าลุมพินี เชิงเขาหิมาลัยเป็นพระราชโอรถของพระเจ้าสุทโธทนะ โดยพระองค์มีพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะ โดยวันนึงเมื่อพระองค์พระชนมายุ 29 พรรษาได้ทรงเสร็จและทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย โรคภัยไข้เจ็บ และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงได้เสด็จออกผนวชเพื่อค้นหาหนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จึงจำเป็นต้องสละเพศผู้ครองเรือน ทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธเพื่อค้นคว้าทดลองในป่าลึก ซึ่งมีโยคีสองท่านคือ อาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้ จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และประทับที่โคนต้นโพธิ์ด้วยอาการอันสงบ ท่าปัทมาอาสนะ ตั้งมั่นที่จะละทิ้งร่างกายนี้แต่จะไม่ละทิ้งอาสนะนี้หากปราศจากการรู้แจ้ง การสร้างการเชื่อมต่อทางกายภาพและจิตวิญญาณเหล่านี้วางร่างกายที่จุดตอบโต้นําไปสู่การสร้าง “หฐโยคะ” Hatha Yoga

หฐโยคะ (Hatha Yoga) คืออะไร

ตำแหน่งของท่าทางหรืออาสนะเรียกว่าหฐโยคะ ประกอบด้วย Asanas (ท่าทางของร่างกาย) และ Pranayama (มารยาทของร่างกาย) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหาร ร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้าน เทคนิคการทําให้บริสุทธิ์ เป้าหมายที่สําคัญที่สุดของหฐโยคะคือการเตรียมการสําหรับการบรรลุขั้นตอนสุดท้ายของโยคะที่เรียกว่า “Samadhi” ซึ่งได้รับความนิยมจนถึงปัจุบัน คำว่า “หะธา” ตามที่นักวิจัยสันนิษฐานว่าประกอบด้วยสององค์ประกอบ: “ฮ่า” – ความคิดและ “ท่า” – พลังชีวิต

ยุคสมัยใหม่

ช่วงศตวรรษที่ 19 ได้มีการฟื้นฟูโยคะในอินเดียโดยผู้ปฏิบัติชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงหลายท่าน รวมถึงสวามี วิเวกอนันดา (Swami Vivekananda) เขาเป็นนักฤษณะเป็นบวชชาวฮินดูที่มีความรู้ ความสามารถเป็นเลิศ เขาได้กับรามากฤษณะ ที่วิหาร ดัคชิเนสชวาร์ (DAKSHINESWAR) ได้เรียนรู้แนวทางในการนั่งสมาธิแบบ รามากฤษณะ สมาธิ  ซึ่งจากคำบอกเล่า  เป็นการนั่งสมาธิแบบอิ่มสุข และ ร่างกายแทบจะไร้ความรู้สึกใดๆ จึงเกิดความศรัทธาจนกระทั้งได้เสียชีวิตจึงขึ้นเป็นผู้นำลัทธิของ รามากฤษณะ และแนะนำโยคะไปสู่ชาวตะวันตก ชิคาโก ประเทศอเมริกา ในปี ค.ศ 1893

Vivekananda in Chicago, September 1893. On the Left note, Vivekananda wrote: “One infinite pure and holy – beyond thought beyond qualities I bow down to thee”
ภาพจาก Wikipedia

ในปี ค.ศ 1894 เขาก่อตั้งสมาคม Vedanta ของนิวยอร์กซึ่งยังคงมีอยู่ เขาได้ปรับแนวคิด ให้เหมาะกับความต้องการและความเข้าใจของผู้ชมชาวตะวันตก องค์ประกอบสําคัญในการปรับตัวของเขาในศาสนาฮินดูคือการแนะนํารูปแบบ “สี่โยคะ” (Four yogas) คือ

1.กรรมโยคะ (Karma Yoga) การปฏิบัติทางจิตวิญญาณของ “การกระทำที่ไม่เห็นแก่ตัวเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น” ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นหนึ่งในสามเส้นทางสู่การปลดปล่อยจิตวิญญาณในศาสนาฮินดู 

2. ภักติโยคะ (Bhakti Yoga) มุ่งเน้นไปที่ความจงรักภักดี ความเสียสละ  และอุทิศในต่อเทพส่วนบุคคล เป็นหนึ่งในสามเส้นทางสู่การปลดปล่อยจิตวิญญาณในศาสนาฮินดู 

3. ราชาโยคะ (Raja-Yoga) เป็นโยคะที่เน้นการเข้าฌาณเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ตามหลักของ โยคะสูตรของปตัญชลี

4. ญานะโยคะ (Jnana-Yoga)“เส้นทางแห่งการตระหนักรู้ในตนเอง” การปฏิบัติทางจิตวิญญาณ  เมื่อรู้ว่าอะไรไม่จริง ก็สละสิ่งนั้น เน้นความเป็นจริง เป็นหนึ่งในสามเส้นทางสู่การปลดปล่อยจิตวิญญาณในศาสนาฮินดู 

ในช่วงปี ค.ศ 1920-1930 มีการพัฒนาของหฐโยคะ เน้นในด้านของอาสนะคือท่าทางของร่างกาย เป็นที่นิยมในรูปแบบของการออกกำลังกาย. และมีการเปิดโรงเรียน Hatha Yoga ในไมซอร์(Mysore) ประเทศอินเดีย ในปี 1924 และมีการเขียนหนังสือเกี่ยวกับ หฐโยคะมากขึ้นมากกว่า 200 เล่ม

จากการเผยแพร่โยคะไปทางตะวันตก Indra Devi เปิดสตูดิโอโยคะของเธอในฮอลลีวูดในปี 1947 หลังจากนั้นครูชาวตะวันตกและอินเดียจํานวนมากได้กลายเป็นผู้บุกเบิกทําให้หฐโยคะ ได้รับความนิยมและได้รับผู้ติดตามหลายล้านคน ตอนนี้มีหลายโรงเรียนใน Hatha Yoga ที่สอนรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งหมดมุ่งเน้นไปที่แง่มุมที่แตกต่างกัน

ปัจจุบันมีการกำหนดวันโยคะสากล (International Day of Yoga) ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี เริ่มโดยนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย เสนอต่อสหประชาชาติ เพื่อให้คนทั่วโลกเห็นถึงประโยชน์ของการฝึกและ เป็นการบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเริ่มเมื่อปี ค.ศ 2015 เป็นต้นมา

ประวัติโยคะในประเทศไทย

ตามตำราราฤาษีดัดตน วัดโพธิ์คาดว่าเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช โดยมีการสร้างรูปปั้นฤาษีดัดตนในรูปแบบต่างๆ แต่ไม่แพร่หลายนักจนกระทั้งสมัยราชการที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะรูปปั้นฤาษีดัดตนในรูปแบบต่างๆ ประมาณ 80 ท่า ทำให้ประชาชนได้ทราบมากขึ้นโดยสื่อถึงการบริหารร่างกายเพื่อบำบัดอาการต่างๆ

ในประเทศไทยเริ่มเผยแพร่อย่างจริงจังช่วง พ.ศ. 2468-2469 จนกระทั้งปี พ.ศ.2499 อาจารย์ชด หัสบําเรอ ได้เปิดสตูดิโอสอนโยคะและเผยแพร่ในประเทศไทยโดยเน้น ซึ่งเขาได้ศึกษาเรียนรู้จากบรมครูสวามี ศิวะนันทะ เมืองฤษีเกศ (Rishikesh) ทางภาคเหนือของประเทศอินเดียโดยเริ่มแรกเขามีปัญหาสุขภาพเล็กน้อยและได้พูดคุยกับบรมครูสวามี ศิวะนันทะ และเริ่มต้นการฝึกโดยทางอาหารมังสวิรัติ ภายใต้แนวคิดที่ว่า โยคะ สามารถ ช่วยบำบัดได้ทั้งร่างกายและจิตใจ ความเจ็บป่วยต่างๆทางด้านสุขภาพของเรา ส่วนใหญ่มาจากสภาวะของจิตใจไม่สมบูรณ์ ถ้าเรามีสภาวะของจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพร่างกายของเราก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งโยคะนั้นตอบโจทย์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยก็มีการฝึกโยคะอย่างแพร่หลายในปัจจุบันทั้งสถาบันและสอนแบบส่วนตัวเพื่อประโยชน์ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เรามีสติ สมาธิ และสงบ อีกทั้งทำให้ร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงเป็นอีกอย่างนึงที่น่าสนใจและสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย